พระเครื่อง พระเกจิ วัตถุมงคล

ประวัติหลวงพ่อกวย ชุตินฺธโร (ตอนที่ 1)

หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม (วัดบ้านแค) เป็นเกจิอาจารย์ที่มีลูกศิษย์นับถือมากมาย มีผู้พยายามเขียนประวัติ และรวบรวมวัตถุมงคลของท่านมากมาย ซึ่งราคาบูชาค่อนข้างสูง

อย่างไรก็ตามวัตถุประสงค์หลักที่ครูบาอาจารย์ได้จัดสร้างขึ้นนั้น ล้วนต้องการให้เป็นพุทธานุสติ ให้มีศีล มีคุณธรรมเป็นที่ยึดเหนี่ยวยามที่ได้เห็น ได้สัมผัสวัตถุมงคล

ประวัติหลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม ผมได้ศึกษาจากอินเทอร์เน็ต (www.watkositaram.com) ซึ่งก็ต้องขออนุญาตเผยแพร่ ณ ที่นี้ และท่านผู้อ่านสามารถศึกษาเพิ่มเติมที่เว็บดังกล่าวได้

หลวงพ่อกวย ชุตินฺธโร เดิมชื่อเด็กชายกวย ปั้นสน เกิดวันที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๔๘ ปีมะเส็ง ณ หมู่บ้าน บ้านแค หมู่ ๙ ต.บางขุด อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท เป็นบุตรของคุณพ่อ ตุ้ย ปั้นสน บ้านเดิมอยู่วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง มารดาชื่อคุณแม่ต่วน เดชมา เป็นคนบ้าน แค ท่านทั้งสองมีบุตรและธิดาด้วยกัน ๕ คน

คนที่ ๑ ชื่อนายตุ๊ ปั้นสน คนที่ ๒ ชื่อนายคาด ปั้นสน คนที่ ๓ ชื่อนายชื้น ปั้นสน คนที่ ๔ ชื่อนางนาค ปั้นสน คนที่ ๕ พระกวย ชุตินฺธโร

ปัจจุบันพี่น้องของท่านได้เสียชีวิตและท่านได้มรณภาพหมดแล้ว

   เด็กชายกวย ปั้นสน เป็นบุตรคนสุดท้องของบิดามารดา ถือว่าเป็นบุตรคนเล็กที่ ก็เป็นที่รักรักใคร่ของบิดามารดา เมื่อโตขึ้นบิดา มารดาจึงได้นำมาฝากไว้กับ หลวงปู่ขวด ณ วัดบ้านแค เพื่อเรียนหนังสือ ในสมัยนั้นบ้านเมืองยังเป็นป่าเป็นดง จะหาโรงเรียน เรียนก็ยาก เพราะห่างไกลความเจริญ หลวงปู่ขวด ได้ไต่ถามถึงวัน เดือน ปีเกิดของเด็กชายกวย ตลอดจนลักษณะผิวพรรณ การ เดินและการพูดจา เด็กชายกวยมีวันเดือนปีเกิดของมหาบุรุษ แสดงว่าวันข้างหน้าจะได้ดีเป็นเจ้าคนนายคน ลักษณะสีผิว สีผิวขาว เหลืองแบบคนมีปัญญา สีผิวต่างจากบิดามารดา ริมฝีปากเล็กแสดงว่าเป็นคนพูดน้อย ประกายตากล้าแข็งเด็ดเดี่ยว แสดงว่าเป็น คนเด็ดเดี่ยวเด็ดขาด แต่เจ้าอารมณ์ การเดินก็แคล่วคล่องปราดเปรียว หลวงปู่ขวดได้พอใจและรับไว้เป็นศิษย์ ได้สอนหนังสือ ก.กา สระ ตัวสะกด การันต์ แล้วเรียนบวก, ลบ, คูณ, หาร จนคล่อง เด็กชายกวยยังได้อ่านหนังสือธรรมบท บทสวดมนต์ต่าง ๆ ของพระ เด็กชายกวยก็ท่องได้ทั้ง ๆ ที่อายุเพียง ๖-๗ ขวบเท่านั้น หลวงปู่ขวดจึงได้ให้เด็กชายกวยเรียนหนังสือขอม เรียนสูตร, สน นาม อีกมากมาย เด็กชายกวยก็เรียนได้ จำได้ หลวงปู่ขวดได้ทุ่มสติปัญญาในการสอนเด็กชายกวยจนเต็มกำลัง เพราะรู้ในชะตา ของเด็กชายกวยว่า วันข้างหน้าอาจจะได้บวชในพระศาสนา จะได้เป็นใหญ่เป็นโต ทั้ง ๆ ที่หลวงปู่ขวดชราภาพมากแล้ว ต่อมา หลวงปู่ขวดก็มรณภาพ บิดามารดาจึงได้นำเด็กชายกวยมาเรียนหนังสือขอมต่อกับอาจารย์ดำ วัดหัวเด่น ซึ่งใกล้ ๆ กับวัดบ้านแค เมื่อเรียนหนังสือขอมจนแตกฉานแล้ว บิดามารดาจึงได้พาเด็กชายกวยมาเรียนที่โรงเรียนวัดพร้าว ต.ดอนกำ อ.สรรคบุรี โดยเดิน ทางไปเรียนเพราะไม่ไกลนัก ได้สอบไล่ ชั้น ป.๑ และ ป.๒ เด็กชายกวยแทบจะไม่ได้ความรู้อะไรเพิ่มเติมเลย เพราะเด็กชายกวย ได้เรียนมากับหลวงปู่ขวดและอาจารย์ดำมาแล้ว แถมยังมีความรู้มากกว่ารุ่นเดียวกันมากนัก ภาษาขอมก็เขียนได้ อ่านได้แตกฉาน เด็กชายกวยจึงเบื่อที่จะเรียนในโรงเรียนอีก จึงได้ช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพทำไร่ไถนา ระหว่างที่นายกวยทำไร่ไถนานี้ นาย กวยคิดถึงแต่หลวงปู่ขวด คิดถึงแต่วัด การทำไร่ทำนาหาไปใช้ไปไม่มีแก่นสาร หาประโยชน์อะไรไม่ได้ ช่วงนี้ตามคำบอกเล่าของ ผู้เฒ่าผู้แก่ บอกว่านายกวยไม่ได้ประพฤติเป็นคนเกเรเหมือนกับคนเมืองสรรคบุรีสมัยนั้น จากคำบอกเล่าชองหลวงพ่อกวยเอง เมื่อ ถามถึงชีวิตในวัยหนุ่ม ท่านเล่าว่าท่านเป็นคนซน คือซุกซน ชอบยิงกระสุน (รูปร่างคล้ายธูน แต่ใช้ลูกดินยิง) คือบ้านไหนตอนกลาง คืนไม่ยอมปิดประตูหน้าต่างให้ดี ท่านจะแกล้งเอาคันกระสุนยิง เพื่อเตือนให้เจ้าของบ้านปิดประตูหน้าต่างให้ดี ในวัยหนุ่มนั้น ท่านได้พูดกับบิดามารดาว่า ถ้าตัวเองได้บวชเมื่อไรจะบวชไม่สึก ซึ่งท่านเคยเล่าให้คุณย่าฉวย เทียนจัน คนหัวเด่นเป็นพี่คุณยาย ฉายคนที่ดูแลท่านก่อนมรณภาพ อายุย่าฉวนมากกว่าหลวงพ่อ ๓-๔ ปี ท่านได้เล่าถึงมูลเหตุของการบวชไม่สึกว่า ตอนสมัยท่านหนุ่ม ๆ ท่านมีคนรักอยู่เหมือนกัน ท่านเคยขึ้นกาคนรักของท่านในตอนกลางคืน โดยปีนหน้าต่างเข้าไปหา ท่านไม่ได้ พูดไว้ว่าขึ้นหาบ่อยหรือไม่ และไม่ได้บอกว่าคนรักของท่านชื่ออะไร คืนวันหนึ่งเดือนหงาย พระจันทร์เต็มดวง ท่านนัดกับคนรัก ของท่านว่าจะไปหา แต่เมื่อท่านไปแล้ว ปรากฏไม่กล้าเข้าไปหา เพราะแสงจันทร์สว่างมากกลัวว่าที่พ่อตาจะเห็น ท่านได้คอยจน กระทั้งเดือนตก คือดึกมากแล้ว ท่านได้ปีนขึ้นไปหาคนรักของท่านปรากฏว่าคนรักของท่าน คอยท่านจนหลับไป ท่านได้เข้าไปดู คนรักของท่านนอนหลับอยู่ ผมผ้ายุ่งเหยิงนอนอ้าปากน้ำลายไหล ผ้าผ่อนเปิดคล้ายคนตาย คล้ายซากศพ หาความงามไม่ได้เลย ท่านได้ถอยหลังออกมาแล้วปีนหน้าต่างกลับ และท่านไม่ได้ไปหาคนรักของท่านอีกเลย และไม่มีคนรักอีก ความตอนนี้คล้ายคลึงกับ เรื่องของพระยศะในพุทธกาล แสดงว่าหลวงพ่อไม่ยินดีในกามคุณตั่งแต่ก่อนบวช